น้ำตะไคร้ มีประโยชน์อย่างไร
ตะไคร้จัด จัดเป็นพืชล้มลุกตระกูลหญ้า ใบมีลักษณะเรียวยาว ปลายใบมีขนหนาม เป็นสมุนไพรไทยชนิดหนึ่งที่นิยมนำมาประกอบอาหาร โดยตะไคร้แบ่งออกเป็น 6 ชนิด ซึ่งได้แก่ ตะไคร้หอม ตะไคร้กอ ตะไคร้ต้น ตะไคร้น้ำ ตะไคร้หางนาค และตะไคร้หางสิงห์ ซึ่งเป็นสมุนไพรไทยที่นิยมปลูกทั่วไปในบ้านเรา โดยมีถื่นกำเนิดใน ประเทศอินเดีย อินโดนีเซีย พม่า ศรีลังกา และไทย
ตะไคร้เป็นทั้งยารักษาโรคและยังมีทั้งวิตามินและแร่ธาตุที่มีประโยชน์ต่อร่างกายอีกด้วย เช่น วิตามินเอ ธาตุแคลเซียม ธาตุฟอสฟอรัส ธาตุเหล็ก ฯลฯ
สรรพคุณของตะไคร้
- มีส่วนช่วยในการขับเหงื่อ
- เป็นยาบำรุงธาตุไฟให้เจริญ (ต้นตะไคร้)
- มีสรรพคุณเป็นยาบำรุงธาตุ ช่วยในการเจริญอาหาร
- ช่วยแก้อาการเบื่ออาหาร (ต้น)
- สารสกัดจากตะไคร้มีส่วนช่วยในการป้องกันโรคเมะเร็งลำไส้ใหญ่
- แก้และบรรเทาอาการหวัด อาการไอ
- ช่วยรักษาอาการไข้ (ใบสด)
- ใช้เป็นยาแก้ไข้เหนือ (ราก)
- น้ำมันหอมระเหยของใบตะไคร้ สามารถบรรเทาอาการปวดได้
- ช่วยแก้อาการปวดศีรษะ
- ช่วยรักษาโรคความดันโลหิตสูง (ใบสด)
- ใช้เป็นยาแก้อาเจียน หากนำไปใช้ร่วมกับสมุนไพรชนิดอื่น ๆ (หัวตะไคร้)
- ช่่วยแก้อาการกษัยเส้นและแก้ลมใบ (หัวตะไคร้)
- รักษาโรคหอบหืด ด้วยการใช้ต้นตะไคร้
- ช่วยแก้อาการเสียดแน่นแสบบริเวณหน้าอก (ราก)
- ใช้เป็นยาแก้อาการปวดท้องและอาการท้องเสีย (ราก)
- ช่วยแก้และบรรเทาอาการปวดท้อง
- ช่วยรักษาอาการท้องอืดท้องเฟ้อ (หัวตะไคร้)
- ช่วยในการขับน้ำดีมาช่วยในการย่อยอาหาร
- น้ำมันหอมระเหยจากตะไคร้ มีส่วนช่วยลดการบีบตัวของลำไส้ได้
- มีฤทธิ์ช่วยในการขับปัสสาวะ
- ช่วยแก้อาการปัสสาวะพิการ และรักษาโรคนิ่ว (หัวตะไคร้)
- ช่วยแก้อาการขัดเบา (หัวตะไคร้)
- ใช้เป็นยาแก้ขับลม (ต้น)
- ช่วยรักษาอหิวาตกโรค
- ช่วยแก้ลมอัมพาต (หัวตะไคร้)
- ใช้เป็นยารักษาเกลื้อน (หัวตะไคร้)
- น้ำมันหอมระเหยจากตะไคร้ สามารถช่วยต่อต้านเชื้อราบนผิวหนังได้เป็นอย่างดี
- ช่วยแก้โรคหนองใน หากนำไปผสมกับสมุนไพรชนิดอื่น ๆ
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น